การฉีดฟิลเลอร์เป็นหัตถการที่ใช้สารเติมเต็มใบหน้าที่ถูกสังเคราะห์เพื่อเลียนแบบกรดไฮยาลูรอนิก แอซิด (Hyaluronic Acid) ที่มีอยู่ตามธรรมชาติในร่างกายคนเรา ซึ่งมีโอกาสพบอาการแพ้ฟิลเลอร์ได้น้อยมาก และเมื่อเวลาผ่านไปจะสามารถสลายได้เอง ไม่ตกค้างในร่างกาย แต่ทั้งนี้ ในบางคนอาจมีภาวะบางอย่างที่ทำให้เกิดอาการแพ้
วันนี้ในบทความ Doctor Mek Clinic จะพาทุกคนไปเรียนรู้ข้อมูลพร้อมทำความรู้จักกันว่าแพ้ฟิลเลอร์อาการเป็นอย่างไร มีอาการบวมหลังฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา ฟิลเลอร์อักเสบคืออะไร ใครบ้างที่มีภาวะเสี่ยง รวมถึงหากพบอาการแพ้ควรต้องทำอย่างไรและมีวิธีการรักษาอย่างไร เพื่อเตรียมตัวก่อนฉีดฟิลเลอร์และเตรียมรับมือหากเกิดอาการแพ้ได้อย่างถูกต้อง
สารบัญบทความ
- อาการแพ้ฟิลเลอร์และฟิลเลอร์อักเสบคืออะไร
- อาการแพ้ฟิลเลอร์ ฟิลเลอร์อักเสบ และผลข้างเคียงหลังฉีดฟิลเลอร์
- เช็กลิสต์! ใครบ้างที่มีโอกาสแพ้ฟิลเลอร์
- หลังฉีดฟิลเลอร์ควร-ไม่ควรทานอะไร เพื่อลดความเสี่ยงในการแพ้ฟิลเลอร์
- วิธีสังเกตว่ามีอาการแพ้ฟิลเลอร์หรือไม่
- วิธีการดูแลตัวเองเมื่อมีอาการแพ้ฟิลเลอร์
- สรุป อาการแพ้ฟิลเลอร์
อาการแพ้ฟิลเลอร์และฟิลเลอร์อักเสบคืออะไร
อาการแพ้ฟิลเลอร์ คือ ภาวะที่ร่างกายมีปฏิกิริยาต่อต้านสารเติมเต็มหรือฟิลเลอร์ที่ฉีดเข้าไป ทำให้ผิวหนังมีอาการอักเสบ มีลักษณะบวมแดงและรู้สึกร้อน ๆ ซึ่งอาจเกิดจากภูมิคุ้มกันในร่างกายโดยเฉพาะช่วงที่ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ โดยภาวะแพ้ฟิลเลอร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ “อาการแพ้ฟิลเลอร์ที่เกิดขึ้นทันที” หรือ Immediate hypersensitivity ซึ่งเป็นอาการแพ้ที่เกิดขึ้นภายในไม่กี่นาทีหรือไม่กี่ชั่วโมงหลังฉีดฟิลเลอร์ และ “อาการแพ้ฟิลเลอร์ที่เกิดขึ้นภายหลัง” หรือ Delayed hypersensitivity ซึ่งเป็นอาการแพ้ที่มักจะเกิดขึ้นใน 48 – 72 ชั่วโมงหลังฉีดฟิลเลอร์ หรือในบางรายอาจพบอาการแพ้เมื่อเวลาผ่านไปนานหลายสัปดาห์หรือเป็นเดือน
นอกจากนี้ ยังมีภาวะ “ฟิลเลอร์อักเสบ” ซึ่งเป็นอาการติดเชื้อที่ผิวหนังจากเชื้อโรคหรือสิ่งสกปรกปนเปื้อน และสาเหตุจากการฉีดสารแปลกปลอมหรือฟิลเลอร์ปลอม เช่น ซิลิโคนเหลว ซึ่งเป็นสารที่ไม่สามารถสลายได้เองตามธรรมชาติ และฉีดกับคนที่ไม่ใช่แพทย์ หมอเถื่อน หมอกระเป๋า ซึ่งฉีดกับคลินิกที่ไม่ได้มาตรฐาน รวมถึงในบางรายที่ดูแลตัวเองหลังฉีดได้ไม่ดีพอก็อาจก่อให้เกิดอาการฟิลเลอร์อักเสบตามมาได้เช่นกัน
อาการแพ้ฟิลเลอร์ ฟิลเลอร์อักเสบ และผลข้างเคียงหลังฉีดฟิลเลอร์
สำหรับอาการแพ้ฟิลเลอร์และอาการฟิลเลอร์อักเสบเป็นกลุ่มอาการผิดปกติ เช่น คนไข้บางรายฉีดฟิลเลอร์หน้าผากไปแล้วมีอาการบวม มีก้อนนูน โดยในช่วงแรกหลังฉีดฟิลเลอร์แนะนำให้เฝ้าสังเกตอาการไปจนถึง 4 สัปดาห์ ซึ่งหากพบอาการแนะนำให้รีบพบแพทย์ นอกจากนี้ ยังมีอาการหรือผลข้างเคียงหลังฉีดฟิลเลอร์ชนิดที่พบได้ปกติ ไม่เป็นอันตราย และจะค่อย ๆ บรรเทาลงจนหายเป็นปกติ ซึ่งทั้ง 3 กลุ่มอาการมีวิธีสังเกตอาการ ดังนี้
อาการแพ้ฟิลเลอร์
- มีอาการบวม ผื่นแดงลักษณะนูน รวมถึงมีอาการคันผิวบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์
- มีตุ่มน้ำใสขึ้น เช่น ในบางกรณีที่ฉีดฟิลเลอร์ปากแล้วเป็นตุ่มใส ๆ ซึ่งเป็นอาการแพ้ฟิลเลอร์ปากเป็นต้น
- บางรายที่มีอาการรุนแรงกว่าปกติอาจพบผื่นที่มีลักษณะแบบลมพิษ หนังตาบวม
- บางรายอาจรู้สึกหายใจลำบาก รู้สึกจะเป็นลมหรือเวียนศีรษะ
- บางรายที่มีการฉีดฟิลเลอร์ไป 4 สัปดาห์ขึ้นไป สังเกตพบมีก้อนนูน เช่น ฟิลเลอร์ใต้ตาเป็นก้อน
อาการฟิลเลอร์อักเสบ
- ผิวบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์มีอาการแดง เมื่อสัมผัสหรือจับแล้วรู้สึกว่าเจ็บ
- มีก้อน ตุ่ม ผิวนูน ในบางรายอาจมีความรู้สึกปวดร้อนและมีหนอง
- ผิวหนังบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์เริ่มมีสีซีดหรือมีสีคล้ำเข้มขึ้น ซึ่งเป็นอาการที่เกิดจากสารเติมเต็มเข้าไปอุดตันบริเวณเส้นเลือด
- ในรายที่แพ้ฟิลเลอร์ใต้ตาจากการใช้ฟิลเลอร์ปลอมทำให้เกิดการอุดตันเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงจอประสาทตา ซึ่งอาจส่งผลให้ตาบอดได้
อาการข้างเคียงหลังฉีดฟิลเลอร์ที่พบได้ปกติ (ไม่เป็นอันตราย)
- รอยแดง รอยช้ำ ซึ่งเกิดจากเข็มขนาดเล็กบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์ และอาการจะค่อย ๆ ดีขึ้นในช่วง 2 – 3 วัน
- หลังฉีดฟิลเลอร์มีอาการบวมและค่อย ๆ บรรเทาลงใน 7 วัน
- ผิวยังไม่เรียบ จับแล้วไม่เจ็บ ไม่มีอาการอักเสบ ซึ่งเกิดจากฟิลเลอร์ยังไม่เข้าที่ โดยจะต้องรอประมาณ 2 สัปดาห์ เนื้อฟิลเลอร์จึงจะเซ็ตตัวและเรียบเนียนกลืนไปกับผิว
เช็กลิสต์! ใครบ้างที่มีโอกาสแพ้ฟิลเลอร์
การฉีดฟิลเลอร์ด้วยสารเติมเต็มประเภทกรดไฮยาลูรอนิก แอซิด เป็นเทคนิคเติมเต็มใบหน้าที่มีความปลอดภัย และถึงแม้ว่าจะพบอาการแพ้ฟิลเลอร์ได้น้อยมาก แต่ในคนไข้ที่มีภาวะบางอย่างอาจทำให้เสี่ยงเกิดการแพ้ฟิลเลอร์ได้ ซึ่งบุคคลที่มีภาวะดังต่อไปนี้แนะนำให้หลึกเลี่ยงการเข้ารับบริการนี้ หรือหากไม่แน่ใจแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อน
- ผู้ที่มีประวัติแพ้สารเติมเต็มประเภทกรดไฮยาลูรอนิก แอซิด (Hyaluronic Acid)
- ผู้ที่มีประวัติแพ้ยาชา
- ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันที่ไวกว่าปกติ
- ผู้ที่มีประวัติเกิดอาการแพ้ชนิดรุนแรงหรือเฉียบพลัน
- ผู้ที่มีภาวะเลือดออกง่ายและเลือดหยุดไหลยาก
- ผู้ที่มีอาการผิวหนังอักเสบ ติดเชื้อ เป็นโรคผิวหนัง
หลังฉีดฟิลเลอร์ควร-ไม่ควรทานอะไร เพื่อลดความเสี่ยงในการแพ้ฟิลเลอร์
นอกจากการปฏิบัติดูแลตัวเองตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดแล้ว เรื่องอาหารการกินนับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม ดังนั้นควรเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อการฟื้นตัวของร่างกาย รวมถึงหลีกเลี่ยงอาหารที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่ออาการแพ้ฟิลเลอร์และอาการอักเสบหลังฉีดฟิลเลอร์
อาหารที่ควรรับประทาน เพื่อให้ฟิลเลอร์เข้าที่เร็วขึ้น
- หลังฉีดฟิลเลอร์ควรดื่มน้ำเปล่าเยอะ ๆ ประมาณ 2 – 3 ลิตรต่อวัน
- เลือกรับประทานผัก ผลไม้ โดยเฉพาะชนิดที่มีวิตามินสูง
- เลือกรับประทานเนื้อสัตว์ ไข่ เนื้อปลา ซึ่งเป็นแหล่งของโปรตีนสูง
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง เพื่อป้องกันอาการแพ้ฟิลเลอร์
- ช่วง 1 – 2 สัปดาห์แรก งดดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะของหลอดเลือดขยายตัว ทำให้อาการบวมหายช้า
- งดอาหารรสเผ็ดเพราะอาจทำให้เกิดอาการร้อนและแสบที่ผิว
- งดอาหารที่มีรสเค็มและมีโซเดียมสูง ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้อาการบวมหายช้า
- งดอาหารไม่สุก กึ่งสุกกึ่งดิบ อาหารหมักดอง เพราะอาจมีเชื้อโรคปนเปื้อนซึ่งจะทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้
- งดอาหารที่มีส่วนประกอบของน้ำตาลและนมวัว ซึ่งมีส่วนกระตุ้นให้เกิดอาการอักเสบตามมาได้
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาบวม
วิธีสังเกตว่ามีอาการแพ้ฟิลเลอร์หรือไม่
หลังฉีดฟิลเลอร์แนะนำให้สังเกตอาการตั้งแต่ช่วงแรกว่าเริ่มมีอาการแพ้ฟิลเลอร์และภาวะฟิลเลอร์อักเสบหรือไม่ โดยมีวิธีเช็กตัวเองเบื้องต้นดังต่อไปนี้
- อาการปวด บวม แดง ไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้นแต่กลับเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ
- มีอาการผิดปกติ เช่น คัน มีผื่น ผิวเริ่มแดงขึ้นและรู้สึกร้อน ๆ ผิวบริเวณที่ฉีดฟิลเลอร์
- เมื่อสัมผัสหรือกดเบา ๆ แล้วรู้สึกเจ็บ หรือในบางรายอาจรู้สึกเจ็บทั้งที่ยังไม่สัมผัส
หากสังเกตตัวเองตั้งแต่เนิ่น ๆ แล้วพบว่ามีอาการดังข้างต้น แนะนำให้พบแพทย์โดยเร็วที่สุด เพื่อทำการตรวจอย่างละเอียดและรับการรักษาอย่างถูกต้อง
วิธีการดูแลตัวเองเมื่อมีอาการแพ้ฟิลเลอร์
เมื่อเริ่มสังเกตพบว่ามีอาการแพ้ฟิลเลอร์ ฟิลเลอร์อักเสบ สิ่งแรกที่ควรทำคือ เข้าพบแพทย์เพื่อทำการตรวจและรักษาอย่างถูกต้อง โดยมีวิธีการรักษาซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาตามความเหมาะสมกับสาเหตุและอาการในคนไข้แต่ละราย ดังนี้
- การรับประทานยา ในรายที่มีภาวะแพ้ฟิลเลอร์ชนิดที่ไม่รุนแรง แพทย์อาจพิจารณาให้รับประทานยารักษาตามลักษณะอาการที่เป็น เช่น ยาแก้แพ้ ลดผื่น ยาฆ่าเชื้อ ลดอาการอักเสบ
- การฉีดสลายฟิลเลอร์ เพื่อเป็นการแก้ไขฟิลเลอร์และช่วยสลายสารเติมเต็มไฮยาลูรอนิก แอซิด ซึ่งจะใช้ได้ในกรณีที่ใช้ฟิลเลอร์ที่ได้มาตรฐานเท่านั้น (ไม่ใช่ของปลอม)
- ขูด / ผ่าตัดนำสารแปลกปลอมออก เป็นวิธีที่ใช้สำหรับกรณีที่ฉีดสารแปลกปลอม ฟิลเลอร์ปลอม ซิลิโคนเหลว พาราฟิน จนทำให้เกิดอาการฟิลเลอร์อักเสบ มีอาการติดเชื้อ
สรุป อาการแพ้ฟิลเลอร์
อาการแพ้ฟิลเลอร์จะเป็นภาวะที่พบได้น้อยมาก แต่โดยส่วนมากแล้วอาการแพ้ อาการฟิลเลอร์อักเสบ และอาการข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์มักจะพบได้ในกรณีที่พลาดไปเลือกฉีดกับสถานพยาบาลที่ไม่ได้มาตรฐาน มีการใช้ฟิลเลอร์ปลอม สถานที่และอุปกรณ์ไม่สะอาด หรือแม้กระทั่งฉีดกับคนที่ไม่ใช่แพทย์ (หมอกระเป๋า) ทั้งนี้ก่อนตัดสินใจเลือกเข้ารับบริการ แนะนำให้พิจารณาเลือกฉีดกับแพทย์ที่มีประสบการณ์ ฉีดในคลินิกที่ได้มาตรฐานเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สารเติมเต็มที่สามารถตรวจสอบได้ เพื่อหลีกเลี่ยงโอกาสเสี่ยงต่อภาวะแพ้ฟิลเลอร์และผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย
สำหรับใครที่สนใจฉีดฟิลเลอร์ แนะนำให้เข้ามาพูดคุย / ปรึกษา / รับการตรวจวิเคราะห์แบบเฉพาะบุคคลกับแพทย์ที่มีทักษะและประสบการณ์ของ Doctor Mek Clinic นอกจากนี้ ยังมาพร้อมเทคนิคการฉีดสารเติมเต็มที่โดดเด่น Triple Layer Lift ที่แก้ไขปัญหารูปหน้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ผลลัพธ์ออกมาดูสวยเป็นธรรมชาติ
References
Susan Van Dyke, Geoffrey P Hays, Anthony E Caglia, Michael Caglia, A. (2010 May). Severe Acute Local Reactions to a Hyaluronic Acid-derived Dermal Filler. ncbi. https://pmc.ncbi.nlm.nih.gov/articles/PMC2922715/
Tahera Bhojani-Lynch, A. (2017, December 22). Late-Onset Inflammatory Response to Hyaluronic Acid Dermal Fillers. ncbi. https://pmc.ncbi.nlm.nih.gov/articles/PMC5889432/
Turkmani MG , De Boulle K, Philipp-Dormston WG, A. (2019, April 29). Delayed hypersensitivity reaction to hyaluronic acid dermal filler following influenza-like illness. dovepress. https://www.dovepress.com/delayed-hypersensitivity-reaction-to-hyaluronic-acid-dermal-filler-fol-peer-reviewed-fulltext-article-CCID