โดยทั่วไปแล้วสำหรับการฉีดใต้ตาเป็นหัตถการที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากสามารถแก้ไขปัญหาใต้ตาที่ให้ผลลัพธ์เร็ว ปลอดภัย ไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องเสียเวลาพักฟื้นนานเหมือนการผ่าตัด และไม่เจ็บ แต่ทั้งนี้อาจทำให้มีอาการบวมได้บ้างในบางรายเพราะเป็นผิวหนังที่มีความบอบบาง ซึ่งในบทความนี้จะมาตอบคำถามพร้อมเคลียร์ข้อสงสัยว่าทำไมฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาแล้วบวมกัน
สารบัญบทความ
- ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา บวม เกิดจากอะไร อันตรายไหม
- เช็กเลย! อาการบวมหลังฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาเป็นแบบไหน
- อาการบวมและอาการข้างเคียงอื่น ๆ กี่วันหาย
- การดูแลรักษาหลังฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาเแล้วบวม
- อาหารที่ควรทานและที่ควรงดหลังฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาเพื่อลดบวม
- วิธีเลือกฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาให้ปลอดภัย ไม่เสี่ยงบวม เป็นก้อน
- สรุป
ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา บวม เกิดจากอะไร อันตรายไหม
สำหรับอาการหลังบวม หลังฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาส่วนใหญ่แล้วมักเกิดจากเข็มขนาดเล็กที่ฉีดเข้าไปยังชั้นผิวหนัง รวมถึงสารเติมเต็มที่ฉีดเข้าไปนั้นยังไม่เข้าที่ ทำให้บวมและมีรอยช้ำจากเข็ม ซึ่งถือว่าเป็นอาการปกติที่พบได้ และอาการดังกล่าวจะค่อย ๆ บรรเทาลง ไม่เป็นอันตราย แต่ทั้งนี้ ในคนไข้บางคนอาจพบว่ามีอาการบวมเกิดขึ้นหลังฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาที่เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ เช่น ฉีดกับแพทย์ที่ไม่มีทักษะและไม่มีความชำนาญมากพอ รวมถึงการเลือกชนิดของสารเติมเต็มที่ไม่เหมาะสมกับปัญหาใต้ตา หรือกรณีที่ฉีดฟิลเลอร์ปลอม หรือบางรายมีอาการแพ้ฟิลเลอร์ และยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่เกิดจากความผิดพลาดทำให้มีปัญหาใต้ตาบวมอักเสบตามมา ซึ่งเดี๋ยวเราจะพาไปเช็กอาการบวมที่อาจเกิดขึ้นได้ปกติและอาการบวมที่ผิดปกติในหัวข้อถัดไปค่ะ
อ่านบทความเพิ่มเติม : ฟิลเลอร์ใต้ตาอันตรายไหม
เช็กเลย! อาการบวมหลังฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาเป็นแบบไหน
อย่างที่อธิบายไว้ในตอนต้นนะคะว่า อาการหลังฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา บวม อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งจะแบ่งออกเป็นอาการบวมหลังฉีดฟิลเลอร์ที่เกิดขึ้นได้ปกติทั่วไป และอาการบวมที่แนะนำให้พบแพทย์ ซึ่งอาจเป็นอันตรายร้ายแรงตามมาได้หากไม่ได้รับการรักษาต่อไป
อาการบวมที่ควรไปพบแพทย์
สำหรับอาการหลังฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา ตาบวมผิดปกติ เป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังเฝ้าสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ได้แก่ ใต้ตาบวมเป็นก้อน มีอาการบวมแสบร้อนร่วมด้วย ในบางรายมีอาการใต้ตาบวมอักเสบ มีรอยช้ำที่มากขึ้นผิดปกติ หรือสังเกตได้ว่าผิวใต้ตามีสีม่วงคล้ำขึ้น โดยอาการเหล่านี้นั้นมักจะเกิดจากการติดเชื้ออักเสบ รวมถึงอาจเกิดจากอาการแพ้ฟิลเลอร์ในบางราย (โดยทั่วไปพบได้น้อยมาก) หรืออาจเกิดจากเทคนิคการฉีดที่ไม่ถูกต้อง หรืออุปกรณ์เครื่องมือที่ไม่สะอาด ซึ่งหากคนไข้สังเกตเห็นอาการผิดปกติดังกล่าวควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อทำการตรวจอย่างละเอียด และเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไปค่ะ
อาการบวมทั่วไป
อาการที่พบได้ตามปกติจะมีลักษณะบวมจากเข็มที่ฉีดเข้าไปผ่านผิวหนัง ทำให้ผิวหนังบวมแดง รวมถึงอาจมีรอยช้ำได้บ้างเล็กน้อย โดยอาการดังกล่าวจะต้องบรรเทาลง ไม่มีอาการผิดปกติที่รุนแรงมากขึ้น และหายได้เองเป็นปกติในเวลาไม่กี่วัน
อาการบวมและอาการข้างเคียงอื่น ๆ กี่วันหาย
หลายคนคงยังสงสัยว่า “จะรู้ได้อย่างไรว่าอาการที่เป็นอยู่นั้นเป็นอาการบวมหลังฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา” “ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา กี่วันเข้าที่” โดยส่วนมากแล้วหลังการฉีดใต้ตามาแล้วคนไข้บางท่านอาจรู้สึกเจ็บ ๆ ได้เล็กน้อย ผิวใต้ตาบวมแดง รวมถึงมีอาการตึงที่ผิวรอบดวงตา และในบางเคสอาจพบว่ามีรอยช้ำ รู้สึกคัน ซึ่งอาการเหล่านี้ถือว่าเป็นอาการข้างเคียงปกติที่พบได้ทั่วไปและเกิดขึ้นชั่วคราวประมาณ 3 – 7 วัน
การดูแลรักษาหลังฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาเแล้วบวม
อย่างที่ได้ทราบกันไปแล้วนะคะว่า อาการบวมที่เกิดขึ้นหลังฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาแบ่งออกเป็นอาการบวมทั่วไปที่พบได้ปกติ ไม่เป็นอันตราย ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไปไม่กี่วันจะค่อย ๆ หายไปได้เอง และอาการบวมที่ไม่ปกติ โดยหากพบว่ามีอาการแล้ว แนะนำให้พบแพทย์ทันทีซึ่งจะต้องใช้วิธีรักษาและการดูแลหลังฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาอย่างถูกต้องค่ะ
วิธีดูแลรักษาอาการบวมที่ไม่ปกติ
- หากพบว่ามีอาการบวมขึ้นเรื่อย ๆ กดแล้วรู้สึกเจ็บ ผิวแดงผิดปกติ รู้สึกร้อนผิวบริเวณที่ฉีด ควรรีบพบแพทย์ทันทีเพื่อตรวจอาการดังกล่าวว่าเกิดจากสาเหตุใด และทำการรักษาอย่างถูกต้อง
- ในเคสที่ทำการฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาด้วยสารเติมเต็มใบหน้าของแท้ ได้มาตรฐาน มีอย.อย่างถูกต้อง แต่เกิดความผิดพลาด เช่น การฉีดด้วยเทคนิคที่ไม่ถูกต้อง, ใช้ปริมาณสารเติมเต็มที่เยอะเกินไป, ฟิลเลอร์ใต้ตาเป็นก้อน ไม่สวย หรือในเคสที่แพ้ฟิลเลอร์ สามารถใช้วิธีการฉีดสลายฟิลเลอร์ได้ แต่ทั้งนี้ ควรอยู่ภายใต้การดูแลจากแพทย์ที่มีทักษะและประสบการณ์โดยเฉพาะ
- ในเคสที่ฉีดฟิลเลอร์ปลอมหรือฉีดสารเหลวแปลกปลอมที่ไม่ใช่สารไฮยาลูรอนิก แอซิด สำหรับกรณีนี้จะไม่สามารถใช้วิธีการฉีดสลายได้ ซึ่งแพทย์จะแนะนำให้ใช้วิธีการผ่าตัดขูดออก
- หากสังเกตพบว่าอาการไม่ดีขึ้น ควรรีบกลับไปพบแพทย์ท่านเดิม เพื่อทำการตรวจรักษาอย่างละเอียดต่อไป
วิธีดูแลรักษาอาการบวมปกติทั่วไป
- งดการจับ แกะ เกา นวด และบีบบริเวณที่ทำการฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา
- งดการทาครีมหรือสกินแคร์และการแต่งหน้าบริเวณรอยเข็มเป็นเวลา 48 ชั่วโมง
- งดการสัมผัสและอยู่ในที่ที่มีความร้อน อุณหภูมิสูง เช่น การเข้าซาวน่า การนั่งอยู่หน้าเตาปิ้งย่าง หรือการโดนแสงแดดจัด
- งดการทำเลเซอร์หรือหัตถการอื่น ๆ ที่สัมผัสกับบริเวณที่ฉีดใต้ตา
- สามารถใช้วิธีการประคบเย็นเพื่อบรรเทาอาการบวม แต่ต้องทำด้วยความระมัดระวังและเบามือ
- ควรดื่มน้ำเยอะ ๆ อย่างน้อย 2 ลิตร เพื่อส่งเสริมให้สารเติมเต็มใบหน้ามีการอุ้มน้ำได้ดี ทำให้ผิวชุ่มชื่นยิ่งขึ้น
- หากมีอาการปวดแนะนำให้รับประทานยาแก้ปวด และรับประทานยาอื่น ๆ ที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เพื่อบรรเทาอาการข้างเคียงต่าง ๆ
อาหารที่ควรทานและที่ควรงดหลังฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาเพื่อลดบวม
นอกจากการดูแลตัวเองตามคำแนะนำของแพทย์แล้ว เรื่องของอาหารการกินถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะเป็นการดูแลหลังฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา ช่วยให้อาการบวมและรอยช้ำบรรเทาและหายได้เป็นปกติดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังควรหลีกเลี่ยงการทานอาหารบางชนิดที่อาจส่งผลเสียและอาจทำให้อาการบวมหายช้า หรืออาจทำให้มีโอกาสเสี่ยงต่อเกิดการติดเชื้อตามมาภายหลังได้ค่ะ
- อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ อาหารหมักดอง อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ อาหารไม่สุก อาหารทะเล อาหารรสจัด รสเค็ม อาหารที่มีน้ำตาลปริมาณมาก รวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งจะทำให้อาการบวมและรอยช้ำจากเข็มหายช้า รวมถึงมีโอกาสเสี่ยงต่อการอักเสบติดเชื้อ
- อาหารที่ควรทาน แนะนำให้ทานอาหารจำพวกผัก ผลไม้ ที่อุดมไปด้วยวิตามินซี วิตามินเอ รวมถึงเนื้อสัตว์หรืออาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น เนื้อไก่ ไข่ เนื้อปลา รวมถึงถั่วและธัญพืชต่าง ๆ เพื่อช่วยส่งเสริมการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อ ช่วยการสมานตัวของแผล นอกจากนี้ ยังสามารถดื่มน้ำใบบัวบกและน้ำฟักทองเพื่อช่วยลดบวมหลังฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา และยังเป็นวิธีแก้รอยช้ำจากเข็มฉีดยาให้หายไวยิ่งขึ้นอีกด้วยค่ะ
วิธีเลือกฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาให้ปลอดภัย ไม่เสี่ยงบวม เป็นก้อน
หัตถการฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาไม่ใช่จะทำกับใครที่ไหนก็ได้ เนื่องจากเป็นการรักษาที่ต้องอาศัยความชำนาญของแพทย์และประสบการณ์ด้านการฉีดสารเติมเต็มใบหน้าโดยเฉพาะ นอกจากนี้ ยังต้องมีทักษะด้านกายวิภาคศาสตร์ใบหน้าที่จะต้องนำมาใช้วิเคราะห์ปัญหา การวางแผนรักษา รวมถึงใช้เทคนิคการฉีดที่ถูกต้อง เพราะหากพลาดขึ้นมานั่นอาจหมายถึงผลข้างเคียงไม่พึงประสงค์ที่แก้ยากและยังอาจก่อให้เกิดอันตรายตามมาได้เช่นกัน ดังนั้น ก่อนตัดสินใจเลือกฉีดที่ไหน ฉีดกับใคร จะต้องพิจารณาจากปัจจัยเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญค่ะ
- ฉีดกับแพทย์ที่มีทักษะและประสบการณ์ ในด้านการฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาโดยเฉพาะ และยังต้องมีการผสานทั้งศาสตร์และศิลป์ในการรักษา มีความประณีต ความพิถีพิถัน ช่วยให้ปัญหาใต้ตาที่มีได้รับการแก้ไขอย่างตรงจุด และให้ผลลัพธ์ที่ยังคงความเป็นธรรมชาติไว้ได้
- ฉีดฟิลเลอร์ของแท้ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับรองอย่างถูกต้องจากอย.ไทยและต่างประเทศ โดยคนไข้สามารถขอกล่องหรือบรรจุภัณฑ์กลับบ้านเพื่อทำการตรวจสอบเองได้ว่าเป็นฟิลเลอร์ของแท้หรือไม่
- ฉีดกับคลินิกหรือสถานพยาบาลที่ได้มาตรฐาน มีใบอนุญาตประกอบกิจการจากกระทรวงสาธารณสุขอย่างถูกต้อง โดยสังเกตได้จากเลขขึ้นทะเบียน 11 หลักที่ติดแสดงไว้ด้านหน้าสถานที่อย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ ในคลินิกหรือสถานพยาบาลจะต้องสะอาด มีแสงสว่างเพียงพอ และปลอดเชื้อ
สรุป
ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา บวม เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติและไม่เป็นอันตราย แต่ทั้งนี้ แนะนำคนไข้ให้สังเกตอาการบวมที่เกิดขึ้น หากผ่านไปแล้วสัก 1 สัปดาห์ยังไม่หายหรือบวมมากขึ้นเรื่อย ๆ ก็ให้ระวังกันไว้ก่อนเลยว่าอาจไม่ใช่อาการปกติ และควรเข้าพบแพทย์ทันทีเพื่อทำการตรวจอย่างละเอียด รวมถึงรับการรักษาอย่างทันท่วงทีค่ะ
สำหรับใครที่กำลังสนใจหรือมองหาคลินิกฉีดฟิลเลอร์แก้ไขปัญหาถุงใต้ตา, ขอบตาดำที่ได้มาตรฐาน Doctor Mek Clinic – Home of Filler เรายินดีเป็นผู้ช่วยที่มาพร้อมความเป็นมืออาชีพด้านนี้โดยเฉพาะ ด้วยเทคนิคการฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา Triple Layer Lift ที่เป็นเอกลักษณ์ ช่วยแก้ไขปัญหาใต้ตาได้ครอบคลุมทุกระดับชั้นผิว ตั้งแต่ชั้นกระดูก ชั้นไขมัน และชั้นผิวหนัง นอกจากนี้ ด้วยเทคนิคการฉีดที่ถูกต้อง ถูกชั้น ถูกตำแหน่ง ทำให้หลังการทำหัตถการคนไข้สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ไม่ต้องกังวลเรื่องอาการบวมช้ำ ใครที่รีบใช้หน้าออกงานสำคัญหรือไปออกเดตสบายใจได้เลยค่ะ โดยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม / ปรึกษาแพทย์ฟรี ผ่านช่องทางไลน์ LINE : @doctormekclinic
References
Jessica Colon, Sophia Mirkin, Patrick Hardigan, Matthew J Elias, and Robin J Jacobs, A. (2023, April 29). Adverse Events Reported From Hyaluronic Acid Dermal Filler Injections to the Facial Region: A Systematic Review and Meta-Analysis. ncbi. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC10226824/
Mohammed H. Abduljabbar, Mohammad A. Basendwh, A. (2016 July). Complications of hyaluronic acid fillers and their management. sciencedirect. https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S2352241016000050